what is oem

ขายของออนไลน์มาตั้งนาน… อยากมีแบรนด์เป็นของตัวเองบ้างแล้ว!

คุณเคยคิดแบบนี้ไหม? หลายคนที่ขายของออนไลน์มาสักพัก มักจะเริ่มฝันถึงการมีแบรนด์เป็นของตัวเอง แต่ก็กังวลเรื่องเงินลงทุน กลัวความเสี่ยง หรือไม่รู้จะเริ่มต้นยังไงดี วันนี้เรามีทางเลือกดี ๆ มาแนะนำ นั่นก็คือการทำ OEM!

วันนี้ Carry Fulfillment จะพาไปทำความรู้จักกับ การผลิตแบบ OEM พร้อมชี้ให้เห็นว่า ทำไม OEM ถึงเป็นทางออกสำหรับพ่อค้าแม่ค้ายุคใหม่ ที่อยากมีแบรนด์เป็นของตัวเอง ถ้าพร้อมแล้ว ไปกันเลย! 


OEM คืออะไร?

ในโลกของการผลิตสินค้า OEM หรือ Original Equipment Manufacturer คือผู้ผลิตที่สร้างสินค้าตามความต้องการของแบรนด์อื่น ๆ โดยตัว OEM เองไม่ได้ทำการขายสินค้าภายใต้ชื่อของตัวเอง แต่ผลิตสินค้าให้แบรนด์นั้น ๆ นำไปวางจำหน่ายในตลาด ตัวอย่างง่าย ๆ ที่เราอาจเคยเห็นกัน เช่น โทรศัพท์มือถือที่ผลิตโดยโรงงานหนึ่ง แต่ติดโลโก้ของแบรนด์ดังที่เราคุ้นเคย

หากพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือการจ้างโรงงานผลิตสินค้าในแบรนด์ของเรา โดยเราไม่ต้องลงทุนตั้งโรงงานเอง แต่ใช้บริการโรงงานที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตอยู่แล้ว มาผลิตสินค้าให้เราแทน ยกตัวอย่างเช่น:

  • ถ้าคุณอยากมีแบรนด์เสื้อผ้า ก็จ้างโรงงานเสื้อผ้าที่มีประสบการณ์ผลิตให้
  • ถ้าคุณอยากมีแบรนด์ครีมบำรุงผิว ก็หาโรงงานเครื่องสำอางที่ได้มาตรฐานมาผลิตให้
  • ถ้าคุณอยากมีแบรนด์อาหารเสริม ก็มีโรงงานที่รับผลิตอาหารเสริมโดยเฉพาะ

ความแตกต่างระหว่าง OEM, ODM และ OBM

differences between oem, odm, and obm

ในโลกของการผลิตสินค้า มีคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบธุรกิจ 3 คำ ได้แก่ OEM, ODM, และ OBM ซึ่งแต่ละคำมีบทบาทและลักษณะการดำเนินงานที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน

OEM (Original Equipment Manufacturer)

  • ลักษณะการทำงาน: OEM เป็นผู้ผลิตสินค้าตามแบบหรือสเปกที่เจ้าของสินค้าเป็นผู้กำหนด โดยแบรนด์จะเป็นผู้ให้คำสั่งซื้อและควบคุมการออกแบบสินค้าทั้งหมด 
  • ตัวอย่าง: โรงงานผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนให้กับแบรนด์ดัง เช่น ผลิตหน้าจอหรือแบตเตอรี่
  • ข้อดีของ OEM:
    • ช่วยลดต้นทุนการผลิตสำหรับแบรนด์
    • ช่วยให้แบรนด์โฟกัสที่การตลาดและการสร้างแบรนด์ได้มากขึ้น

ODM (Original Design Manufacturer)

  • ลักษณะการทำงาน: ODM เป็นผู้ผลิตที่นอกจากจะผลิตสินค้าแล้ว ยังออกแบบสินค้าเองด้วย แบรนด์สามารถนำสินค้ามาปรับแต่งบางส่วนหรือเพิ่มโลโก้ของตนเองก่อนขายในตลาด
  • ตัวอย่าง: บริษัทที่ออกแบบและผลิตโทรศัพท์ทั้งเครื่อง แล้วส่งให้แบรนด์นำไปติดโลโก้ 
  • ข้อดีของ ODM:
    • แบรนด์ไม่ต้องเริ่มการออกแบบจากศูนย์
    • ช่วยลดเวลาการพัฒนาสินค้า

OBM (Original Brand Manufacturer)

  • ลักษณะการทำงาน: OBM คือผู้ผลิตที่ไม่เพียงแค่ผลิตและออกแบบสินค้า แต่ยังทำการตลาดและจำหน่ายสินค้าในนามของแบรนด์ตัวเอง โดยไม่พึ่งพาแบรนด์อื่น
  • ตัวอย่าง: แบรนด์แฟชั่นหรือเครื่องสำอางที่พัฒนาสินค้าเองทั้งหมดและทำการตลาดด้วยตัวเอง 
  • ข้อดีของ OBM:
    • สามารถควบคุมทุกกระบวนการได้ตั้งแต่การผลิตจนถึงการทำการตลาด
    • สร้างความจดจำในแบรนด์ได้ดี เพราะทุกอย่างเป็นของแบรนด์โดยตรง

ตัวอย่างสินค้าและอุตสาหกรรมที่ใช้ OEM

woman customer looking fabric drapery

OEM เป็นส่วนหนึ่งของหลายอุตสาหกรรมทั่วโลก มาดูตัวอย่างกันว่ามีสินค้าใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับ OEM

  1. อิเล็กทรอนิกส์
    • สมาร์ทโฟน แล็ปท็อป และอุปกรณ์เสริม เช่น หูฟัง สายชาร์จ
    • โรงงาน OEM ผลิตชิ้นส่วนสำคัญ เช่น หน้าจอ แบตเตอรี่ หรือชิป
  2. ยานยนต์
    • ชิ้นส่วนรถยนต์ เช่น เครื่องยนต์ เบรก และยางรถยนต์
    • แบรนด์รถยนต์หลายรายพึ่งพา OEM ในการผลิตชิ้นส่วนเฉพาะ
  3. ผลิตภัณฑ์สำนักงาน
    • เครื่องพิมพ์ หมึกพิมพ์ และอุปกรณ์สำนักงานอื่น ๆ
    • โรงงาน OEM ช่วยผลิตในปริมาณมากเพื่อตอบสนองความต้องการตลาด
  4. เครื่องสำอางและสกินแคร์
    • ครีมบำรุงผิว เมคอัพผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม
    • โรงงาน OEM ผลิตสูตรและบรรจุภัณฑ์ให้กับแบรนด์เครื่องสำอาง
    • แบรนด์สามารถปรับแต่งส่วนผสมหรือเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมเองได้ 
  5. อุตสาหกรรมเสื้อผ้าและสิ่งทอ 
    • เสื้อยืด เสื้อเชิ้ต กางเกงยีนส์  เดรสที่ผลิตตามดีไซน์ของแบรนด์ เสื้อผ้าที่สั่งทำพิเศษสำหรับแคมเปญหรือโอกาสเฉพาะ เช่น เสื้อทีม เสื้อพนักงาน หรือเสื้อในกิจกรรมการตลาด
    • โรงงาน OEM รับหน้าที่ผลิตสินค้าในปริมาณมากตามแบบที่แบรนด์กำหนด

ข้อดีของ OEM สำหรับร้านค้าออนไลน์

online seller preaparing orders

1. ประหยัดต้นทุนการผลิต

การสร้างโรงงานผลิตสินค้าเองเป็นการลงทุนที่สูง ทั้งในด้านเครื่องจักรและแรงงาน การใช้บริการ OEM ช่วยให้เจ้าจของแบรนด์ไม่ต้องกังวลกับต้นทุนเหล่านี้ เพียงแค่จ่ายเฉพาะค่าสินค้าที่ผลิตแล้วเท่านั้น ซึ่งช่วยลดภาระทางการเงินและช่วยให้แบรนด์สามารถนำงบไปใช้ในด้านอื่น ๆ ได้

2. ลดเวลาในการเข้าสู่ตลาด

ไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์! การใช้ OEM ช่วยให้แบรนด์สามารถเปิดตัวสินค้าได้รวดเร็ว เพราะคุณไม่ต้องเสียเวลาวางระบบการผลิตเอง ผู้ผลิต OEM ที่มีความเชี่ยวชาญสามารถผลิตสินค้าได้ทันทีตามสเปกที่คุณต้องการ

3. คุณภาพที่สม่ำเสมอ

โรงงาน OEM มักผลิตสินค้าให้หลายแบรนด์ จึงมีมาตรฐานการผลิตที่สูงและกระบวนการที่ชัดเจน การเลือก OEM ที่มีประสบการณ์และชื่อเสียงช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าจะได้สินค้าจะมีคุณภาพสม่ำเสมอ

4. โฟกัสที่แบรนด์และการตลาด

เมื่อไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับกระบวนการผลิต แบรนด์สามารถทุ่มเทเวลาไปกับการสร้างกลยุทธ์การตลาดและการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้อย่างเต็มที่

ข้อเสียของ OEM

1. การพึ่งพาผู้ผลิต

หากผู้ผลิต OEM เกิดปัญหา เช่น ส่งสินค้าไม่ตรงเวลา หรือคุณภาพสินค้าลดลง จะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และกแบรนด์โดยตรง การเลือกผู้ผลิตที่เชื่อถือได้จึงสำคัญมาก

2. ขาดความแตกต่างในสินค้า

โรงงาน OEM มักผลิตสินค้าให้กับหลายแบรนด์ หากดีไซน์หรือสเปกสินค้าคล้ายกันมากเกินไป อาจทำให้สินค้าไม่มีเอกลักษณ์หรือจุดขายที่โดดเด่น ซึ่งเป็นสิ่งที่แบรนด์ต้องระวัง

3. ความเสี่ยงด้านความลับทางธุรกิจ

การส่งข้อมูลการออกแบบหรือสเปกสินค้าไปยังผู้ผลิต OEM มีความเสี่ยงที่ข้อมูลจะรั่วไหลหรือถูกนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต เพื่อป้องกันปัญหานี้ ควรเลือกผู้ผลิตที่มีมาตรการรักษาความลับที่เข้มงวด


oem

เคล็ดลับการเลือกผู้ผลิต OEM ที่เหมาะสม

  • ตรวจสอบประวัติและความน่าเชื่อถือ: ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับผู้ผลิต เช่น ประสบการณ์ในอุตสาหกรรม และรีวิวจากลูกค้ารายอื่น ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ผลิตมีประวัติที่ดีและเชื่อถือได้
  • ประเมินมาตรฐานการผลิต: ตรวจสอบว่าผู้ผลิตมีใบรับรองมาตรฐาน เช่น ISO (มาตรฐานการจัดการคุณภาพ) หรือ GMP (Good Manufacturing Practices) และมีระบบ QC ที่ดี 
  • ความยืดหยุ่นในการผลิต: เลือกผู้ผลิตที่สามารถปรับตัวตามความต้องการของแบรนด์ได้ เช่น การเพิ่มหรือลดปริมาณการผลิต หรือการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเล็กน้อยในสินค้า
  • การสนับสนุนหลังการขาย: ผู้ผลิตที่มีบริการหลังการขายที่ดี เช่น การแก้ปัญหาหรือรับผิดชอบเมื่อสินค้ามีข้อบกพร่อง จะช่วยลดภาระของแบรนด์ในระยะยาว
  • เปรียบเทียบราคาและบริการ: อย่าลืมเปรียบเทียบราคาจากผู้ผลิตหลายราย เพื่อให้ได้ข้อเสนอที่คุ้มค่าที่สุด แต่ต้องไม่มองข้ามคุณภาพและบริการที่มาพร้อมกับราคา

การทำ OEM เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่อยากมีแบรนด์เป็นของตัวเอง โดยไม่ต้องลงทุนมาก แต่กุญแจสำคัญคือต้องเลือกโรงงานที่เหมาะสม วางแผนการตลาดที่ดี และที่สำคัญที่สุดคือต้องมีจุดยืนที่ชัดเจนว่าเราอยากให้แบรนด์ของเราเป็นแบบไหน

สำหรับร้านค้าออนไลน์ร้านไหนที่ได้มีการสร้างแบรนด์จากการทำ OEM จนมีออเดอร์เข้ามามากมายจากหลายช่องทาง จนจัดการไม่ทัน ก็อย่าลืมนึกถึง Carry Fulfillment กันนะครับ เราช่วยร้านคุณจัดการได้ทุกขั้นตอน ทั้งจัดเก็บ แพ็ค และส่งสินค้าให้คุณอย่างมีประสิทธิภาพ เรามีระบบหลังบ้านที่สามารถเชื่อมต่อ API เข้ากับแพลตฟอร์มต่าง ๆ ทําให้ร้านค้า ประหยัดเวลาในการจัดการออเดอร์ได้เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นหลักพันหรือหมื่นออเดอร์ เราพร้อมให้บริการครบวงจรที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปอย่างราบรื่น สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการของเราได้ที่นี่เลยครับ!