ทำความรู้จัก SKU คืออะไร อีกหนึ่งตัวช่วยในการจัดการสต็อกสำหรับเจ้าของธุรกิจ

หลายคนคงจะคุ้นเคยกับคำว่า SKU กันมาบ้างแล้ว โดยเฉพาะคนที่เป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ หรือทำงานเกี่ยวกับคลังสินค้าและสต็อกสินค้า ซึ่ง SKU เป็นรหัสชนิดหนึ่งที่ช่วยในการบริหารจัดการสินค้า สำหรับเจ้าของกิจการมือใหม่หรือใครที่อยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับ SKU ไปดูกันว่า SKU คืออะไร  

SKU คืออะไร ย่อมาจากคำว่าอะไร ?

SKU ย่อมาจากคำว่า Stock keeping unit หรือในภาษาไทยมักเรียก SKU ว่ารหัสสินค้านั่นเอง โดย SKU คือชุดตัวเลขและตัวอักษรที่ตั้งขึ้นมาเพื่อใช้ในการจัดการสินค้าแต่ละชิ้นหรือแต่ละรายการ นิยมใช้ในธุรกิจค้าปลีกต่าง ๆ เพื่อจำแนกสินค้าตามลักษณะต่าง ๆ เช่น ราคา สีสัน ขนาด ประเภท ฯลฯ 

SKU สำคัญกับร้านค้าออนไลน์อย่างไร ?

SKU ถือเป็นส่วนสำคัญในการบริหารจัดการคลังสินค้าและสต็อกสินค้า ทำให้เจ้าของกิจการหรือคนทำงานสามารถเห็นข้อมูลของสินค้าได้ชัดเจน เช่น สินค้าที่ออกจากคลัง สินค้าคงเหลือ ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถบริหารการผลิตสินค้าใหม่และนำมาเติมคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ยังช่วยติดตามสินค้าและป้องกันสินค้าสูญหายได้อีกด้วย

วิธีการตั้ง SKU เบื้องต้นสำหรับร้านค้าออนไลน์

โดยทั่วไปแล้วในระบบคลังสินค้าขนาดใหญ่จะมีการใช้โปรแกรมในการช่วยตั้ง SKU สำหรับสินค้าปริมาณมากและมีความหลากหลาย แต่คนขายของออนไลน์ที่ไม่ได้ใช้ระบบขนาดใหญ่ ก็สามารถสร้าง SKU เองได้เช่นกัน โดยหลักการในการตั้งเบื้องต้น จะนิยมใช้อักษรและตัวเลขอย่างน้อย 8 – 12 หลักด้วยกัน ซึ่ง 2-3 หลักแรก สามารถใช้แทนกลุ่มสินค้าขนาดใหญ่ ตามด้วยรหัสล็อตสินค้า รหัสสี และรหัสขนาด เช่น เสื้อผู้หญิง = WO ผลิตไซซ์ S = 01 สีชมพู = 04 และผลิตเป็นล็อตที่ 1 = 01 สามารถตั้ง SKU เป็น WO010401

เทคนิคในการตั้ง SKU

  • การตั้ง SKU ควรใช้ตัวอักษรหรือตัวเลข 8 – 12 หลัก

  • ควรเริ่มต้นด้วยตัวอักษรที่แสดงถึงประเภทสินค้า หรือแบรนด์สินค้า

  • ห้ามใช้เลขศูนย์ (0) หรือสัญลักษณ์อื่น ๆ ! $ % 

  • ตั้ง SKU ให้เข้าใจง่ายและกระชับ

Parent SKU คืออะไร

Parent SKU คือ ชุดของ SKU ซึ่งมี SKU ย่อยเพื่อระบุรายละเอียดของสินค้าในกลุ่มเดียวกัน เช่น เสื้อกันหนาวรหัส SKU คือ S234 มี 2 ไซซ์ คือไซซ์ S, M และมี 2 สีคือ สีชมพูกับสีเขียว จะได้ SKU ที่อยู่ใน Parent SKU เดียวกัน ดังนี้

  • S234SP

  • S234SG

  • S234MP

  • S234MG

โดย Parent SKU มักจะพบได้ในร้านค้าบนแพลตฟอร์ม e-Commerce เช่น Shopee, Lazada ฯลฯ ซึ่งคนขายของออนไลน์มักจะเคยเห็นผ่านตากันมาบ้างแล้ว สามารถสร้าง Parent SKU เองได้ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ของเรา

SKU กับบาร์โค้ด ต่างกันอย่างไร ?

บาร์โค้ดคือ แถบเส้นสีดำเรียงกันและแปะอยู่บนสินค้าหรือป้ายสินค้า เรียกอีกชื่อว่า Universal Product Code หรือ UPC เป็นวิธีการตั้งรหัสสินค้าที่ใช้กันตามมาตรฐานสากล บริเวณด้านล่างของบาร์โค้ดจะมีรหัสสินค้าเป็นตัวเลขอีกเช็ต ซึ่งไม่ใช่รหัส SKU โดยใช้ตัวเลข 12 ตัวขึ้นไป ตั้งขึ้นโดย Global Standards Organization บาร์โค้ดใช้เพื่อสแกนเมื่อลูกค้าทำการซื้อสินค้าชิ้นนั้น ๆ เพื่อเป็นการอ่านข้อมูลสินค้าและทำการจัดเก็บข้อมูลเข้าระบบซื้อขาย

SKU กับบาร์โค้ด ต่างกันอย่างไร ?

  • ติดตามสต็อกสินค้าได้ เนื่องจาก SKU สามารถแยกสินค้าออกเป็นประเภทและย่อยลงไปตามลักษณะของสินค้าแต่ละกลุ่มอีกด้วย ทำให้เห็นภาพสต็อกสินค้าได้ทั้งหมด เพื่อวางแผนการผลิตสินค้าเพิ่มได้ถูกต้อง

  • ใช้คาดการณ์ความต้องการและยอดขายของสินค้าแต่ละตัว เพราะเมื่อใช้ SKU ในการเช็กสต็อกสินค้า ทำให้เห็นแนวโน้มของสินค้าที่ได้รับความนิยมสูงหรือสินค้าที่ได้รับความนิยมน้อย ทำให้สามารถนำไปประมาณยอดขายที่จะเกิดขึ้นได้ รวมไปถึงบริหารจัดการด้านอื่น ๆ เช่น จำนวนพนักงานที่ต้องใช้ในการจัดการสินค้า ควรตุนสินค้าไว้ในสต็อกกี่เปอร์เซ็นต์ ฯลฯ 

  • ช่วยย่นระยะเวลาในการบริหารจัดการคลังสินค้า โดยเฉพาะเมื่อธุรกิจเติบโต และมีปริมาณสินค้าจำนวนมาก การนับสินค้าโดยใช้แรงคนอาจไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป ดังนั้นการจัดเก็บข้อมูลสินค้าผ่านการตั้ง SKU สินค้า จึงเป็นตัวช่วยที่ดีนั่นเอง

ได้ทราบข้อมูลกันไปแล้วว่า SKU คืออะไร มีความแตกต่างจากบาร์โค้ดอย่างไร รวมถึงวิธีการสร้างและหลักการตั้ง SKU ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้กับการบริหารจัดการสต็อกสินค้าได้ แต่ถ้าหากใครที่ไม่อยากยุ่งยากเรื่องการจัดการคลังสินค้า และเอาเวลาไปบริหารงานในส่วนอื่น ๆ ของธุรกิจ สามารถเลือกใช้ บริการ Fulfillment ของ Carry Fulfillment ได้ ไม่ว่าจะเป็นบริการจัดเก็บสต็อก แพ็ค และจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าได้แบบครบวงจร

บทความที่เกี่ยวข้อง