wms blog cover

ในยุคที่ธุรกิจต้องการความรวดเร็วและความแม่นยำในการดำเนินงาน การจัดการคลังสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพกลายเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าธุรกิจของคุณเคยเจอปัญหาเกี่ยวกับการจัดเก็บสินค้าที่ไม่เป็นระบบ หรือการนับสต็อกที่ยุ่งยาก “WMS” หรือ “Warehouse Management System” อาจเป็นตัวช่วยที่ตอบโจทย์ 

วันนี้ Carry Fulfillment จะพาคุณไปรู้จักกับ WMS ว่ามันคืออะไร ทำงานอย่างไร มีกี่ประเภท และทำไมธุรกิจของคุณถึงควรมีระบบนี้ ตามไปดูกันได้เลย!


WMS คืออะไร?

WMS (Warehouse Management System) คือระบบซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยในการจัดการคลังสินค้าให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ระบบนี้สามารถครอบคลุมการจัดการในทุก ๆ ขั้นตอน ตั้งแต่การรับสินค้า การจัดเก็บ การหยิบสินค้า และการส่งสินค้าออกจากคลัง ระบบ WMS ยังช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของสินค้าในทุกจุด ตลอดจนติดตามและบันทึกข้อมูลแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถตรวจสอบสถานะของสินค้าได้อย่างแม่นยำทุกเวลา

ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กที่มีสินค้าไม่มาก หรือธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีคลังสินค้าหลายแห่ง ระบบ WMS สามารถปรับแต่งให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละธุรกิจได้ ซึ่งช่วยให้การทำงานภายในคลังสินค้ามีความราบรื่นและลดความยุ่งยากลงอย่างมาก


Warehouse Management System (WMS) มีกี่ประเภท?

Standalone WMS: ระบบที่ทำหน้าที่จัดการคลังสินค้าเพียงอย่างเดียว ไม่เชื่อมต่อกับระบบอื่น เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการควบคุมการจัดการคลังสินค้าแบบพื้นฐานและไม่ต้องการความซับซ้อน

Cloud-based WMS: ระบบที่ทำงานบนคลาวด์ ไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ในองค์กร สามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ผ่านอินเทอร์เน็ต ระบบนี้เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ที่ต้องการความยืดหยุ่นและต้องการลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบ

Integrated WMS: เป็นระบบที่สามารถเชื่อมต่อและบูรณาการกับระบบอื่น ๆ ภายในธุรกิจได้ เช่น ERP หรือ TMS เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ที่ต้องการระบบที่สามารถควบคุมทุกกระบวนการได้ในที่เดียว ทำให้การทำงานในองค์กรเป็นไปอย่างราบรื่น

On-premise WMS: ระบบที่ติดตั้งในองค์กร สามารถปรับแต่งได้ตามแต่ละธุรกิจ เหมาะกับธุรกิจที่มีความซับซ้อนและต้องการการควบคุมขั้นสูง


พนักงานกำลังตรวจสอบคลังสินค้า

Warehouse Management System (WMS) ทำงานอย่างไร?

ภายในระบบ WMS ประกอบด้วยหลายระบบย่อยที่ทำงานร่วมกันเพื่อให้การบริหารจัดการคลังสินค้ามีประสิทธิภาพและเป็นระบบมากขึ้น ระบบย่อยเหล่านี้ช่วยให้ธุรกิจสามารถควบคุมทุกกระบวนการได้อย่างละเอียดและแม่นยำ มาดูกันว่าระบบย่อยของ WMS ทำงานอย่างไรบ้าง:

ระบบนำเข้าสินค้า

ระบบนี้ทำหน้าที่บันทึกการเคลื่อนไหวของสินค้าอย่างละเอียด ตั้งแต่การรับสินค้าเข้าคลัง การหยิบสินค้าสำหรับการแพ็ค จำนวนสินค้าที่เหลือในสต็อก ตำแหน่งที่จัดเก็บสินค้า ไปจนถึงการจัดส่งถึงมือลูกค้า โดยทั้งหมดนี้จะถูกติดตามและอัพเดทแบบเรียลไทม์ ช่วยให้สามารถตรวจสอบสถานะของสินค้าได้ในทุกขั้นตอน

ระบบจัดการเอกสาร

WMS จะช่วยจัดการกับเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคลังสินค้าแบบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นใบส่งของ ใบเสร็จการสั่งซื้อ หรือใบเบิกพัสดุ ทำให้การดำเนินการในด้านเอกสารเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีระเบียบ ลดความยุ่งยากในการทำงานที่ต้องใช้เอกสารจำนวนมาก

ระบบบริหารคลังสินค้า

ระบบนี้ช่วยจัดระเบียบการทำงานในคลังสินค้ามากยิ่งขึ้น โดยลดเวลาที่เสียไปกับการดำเนินงานที่ไม่จำเป็น ทำให้กระบวนการจัดเก็บและหยิบสินค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถบริหารพื้นที่ภายในคลังสินค้าได้อย่างเต็มที่

ระบบจัดการการขนส่ง

ระบบนี้ช่วยจัดการกระบวนการขนส่งสินค้าให้เป็นระบบมากขึ้น ตั้งแต่การพิมพ์ใบปะหน้าสำหรับการจัดส่งสินค้าไปจนถึงการตรวจสอบสถานะการขนส่ง ลดความผิดพลาดและทำให้การจัดส่งสินค้าถึงมือลูกค้าเป็นไปอย่างราบรื่น

ระบบการโอนย้ายสินค้า

หากธุรกิจของคุณมีหลายคลังสินค้า ระบบการโอนย้ายสินค้าช่วยให้การย้ายสินค้าจากคลังหนึ่งไปยังอีกคลังหนึ่งเป็นไปอย่างสะดวกและง่ายดาย ระบบนี้ยังช่วยลดความสับสนและความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการโอนย้ายสินค้าได้อีกด้วย

ระบบ Dashboard ดูภาพรวม

ระบบ Dashboard ของ WMS ช่วยให้ธุรกิจสามารถดูภาพรวมของคลังสินค้าได้แบบเรียลไทม์ สามารถตรวจสอบข้อมูลที่สำคัญได้ เช่น จำนวนสินค้าที่ออกจากคลัง การใช้พื้นที่ในคลัง หรือประสิทธิภาพการจัดเก็บ นอกจากนี้ยังช่วยให้วางแผนในการบริหารพื้นที่วางสินค้าได้ดีขึ้น เพื่อให้การจัดเก็บสินค้าเพียงพอและเหมาะสม


คลังสินค้า

ประโยชน์ของ Warehouse Management System (WMS)

  1. ประหยัดเวลาและทรัพยากร: สามารถลดเวลาที่ใช้ในการค้นหาสินค้า การหยิบสินค้า และการจัดส่ง ช่วยให้กระบวนการทำงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้การทำงานในคลังสินค้าประหยัดเวลามากขึ้น และสามารถใช้ทรัพยากรในการทำงานอื่น ๆ ได้ดีขึ้น
  2. เพิ่มความถูกต้องและแม่นยำ: WMS ช่วยลดความผิดพลาดที่มักเกิดจากการทำงานด้วยมือ เช่น การหยิบสินค้าผิด การจัดเก็บสินค้าผิดที่ หรือการตรวจนับสินค้าผิดพลาด ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถส่งผลกระทบต่อธุรกิจได้มากทีเดียว
  3. ข้อมูลแบบเรียลไทม์: ธุรกิจสามารถติดตามการเคลื่อนไหวของสินค้าภายในคลังได้แบบเรียลไทม์ ทำให้รู้สถานะของสินค้าได้ตลอดเวลา รวมถึงช่วยให้คุณสามารถปรับเปลี่ยนการทำงานได้อย่างรวดเร็วเมื่อมีปัญหา
  4. รองรับการขยายธุรกิจ: หากธุรกิจของคุณกำลังเติบโตและต้องการขยายพื้นที่คลังสินค้า ระบบ WMS สามารถปรับตัวได้ตามขนาดของธุรกิจ ไม่ว่าจะมีสินค้ามากขึ้นหรือจำนวนคำสั่งซื้อมากขึ้น ระบบก็ยังคงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การเลือก WMS ที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ

การเลือก WMS ที่เหมาะสมกับธุรกิจต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย ดังนี้

  1. ขนาดของธุรกิจ: ธุรกิจขนาดเล็กถึงกลางอาจเลือกใช้ Cloud-based WMS เพราะไม่ต้องลงทุนในฮาร์ดแวร์มาก ส่วนธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีคลังสินค้าหลายแห่งหรือกระบวนการที่ซับซ้อนควรพิจารณาการใช้ Integrated WMS ที่สามารถรวมระบบต่าง ๆ ไว้ในหนึ่งเดียวได้
  2. ความต้องการของธุรกิจ: หากธุรกิจของคุณต้องการการจัดการที่ยืดหยุ่น หรือมีการใช้งานระบบอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ERP ควรเลือก Integrated WMS หรือ On-premise WMS เพื่อให้ระบบทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ประเภทของสินค้า: สินค้าที่มีความซับซ้อน เช่น สินค้าที่ต้องการการจัดเก็บเฉพาะทาง การเลือกใช้ WMS ที่สามารถปรับแต่งได้จะช่วยให้การจัดเก็บเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

คงจะพอเห็นความสำคัญของระบบ WMS กันแล้วนะครับว่าระบบนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคลังสินค้าของร้านค้าคุณได้ยังไงบ้าง ทั้งในเรื่องการรับสินค้า การจัดเก็บ การแพ็ค และการจัดส่งอย่างเป็นระบบสำหรับร้านค้าออนไลน์ร้านไหนที่กำลังมองหาบริการจัดการคลังสินค้าที่มาพร้อมระบบ WMS อย่าลืมนึกถึง Carry Fulfillment กันนะครับ เราช่วยร้านคุณจัดการได้ทุกขั้นตอน ตั้งแต่การจัดเก็บ แพ็ค ไปจนถึงการส่งสินค้า ไม่ว่าจะหลักพันหรือหมื่นออเดอร์ เรามีระบบและทีมงานมืออาชีพที่พร้อมให้บริการครบวงจร เพื่อให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการของเราได้ที่นี่เลยครับ!