what is warehouse

Warehouse หรือ คลังสินค้า คือสถานที่สำหรับจัดเก็บสินค้าอย่างเป็นระบบก่อนที่จะถูกส่งไปยังปลายทาง ไม่ว่าจะเป็นโรงงาน ร้านค้า หรือผู้บริโภคโดยตรง คลังสินค้ามีบทบาทสำคัญในระบบโลจิสติกส์ โดยเกี่ยวข้องกับการบริหารสินค้าคงคลัง การจัดเก็บที่เหมาะสม และการบรรจุหีบห่อเพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าจะถูกส่งถึงมือลูกค้าอย่างปลอดภัย

การจัดเก็บสินค้าให้เหมาะสมกับประเภทของสินค้าเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยรักษาคุณภาพสินค้า ลดการสูญเสีย และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารธุรกิจ ดังนั้น ธุรกิจจำเป็นต้องเลือกคลังสินค้าที่มีความปลอดภัย มีระบบการจัดเก็บที่เป็นมาตรฐาน และสามารถรองรับการขนส่งได้อย่างราบรื่น มาดูกันให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งกันดีกว่าว่า Warehouse มีความสำคัญอย่างไร และช่วยเสริมศักยภาพให้ธุรกิจได้อย่างไรบ้าง!

Warehouse คืออะไร

Warehouse หรือ คลังสินค้า คือสถานที่ที่ใช้จัดเก็บหรือพักสินค้าก่อนจัดส่ง โดยผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายจะนำสินค้ามาจัดเก็บไว้ ส่วนใหญ่คลังสินค้าจะเป็นอาคารชั้นเดียว ที่มีพื้นที่โล่งกว้าง มีทางลาดเอียงให้เหมาะสมกับการขนถ่ายสินค้าขึ้นลง บางแห่งอาจมีระบบควบคุมอุณหภูมิ หรือ ระบบป้องกันน้ำท่วม เพื่อป้องกันความเสียหายของสินค้า ส่วนใหญ่คลังสินค้ามักตั้งอยู่บริเวณเขตอุตสาหกรรมหรือใกล้กับท่าเรือ สนามบินเพื่อความสะดวกในการขนส่งสินค้า

คลังสินค้าบางแห่งยังใช้เป็นสถานที่ติดฉลาก แพ็คสินค้า หรือคัดแยกสินค้าก่อนกระจายไปยังที่อื่น ๆ ดังนั้นคลังสินค้าจึงต้องมีลักษณะที่เหมาะสมกับสินค้าแต่ละประเภทด้วย

warehouse

Warehouse มีอะไรบ้าง? ทำความรู้จัก คลังสินค้า 6 ประเภท

ประเภทของคลังสินค้า แบ่งออกเป็น 6 ประเภท 

1. คลังสินค้าแบบส่วนตัว (Private Warehouse)

เป็น Warehouse หรือคลังเก็บสินค้าสำหรับผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่ายหรือผู้ค้าปลีกรายใหญ่ ที่ใช้เก็บหรือพักสินค้าของกิจการ บางแห่งอาจตั้งอยู่ติดกับส่วนผลิตสินค้าในโรงงานของผู้ผลิตโดยตรง เพื่อความสะดวกสบายในการขนถ่ายสินค้าเมื่อผลิตเสร็จ ก็สามารถเคลื่อนย้ายมาเก็บที่คลังสินค้าก่อนที่จะจัดส่งไปยังผู้จำหน่าย หรือร้านค้าต่อไป หรือคลังสินค้าบางแห่งผู้ประกอบการใช้เป็นสถานที่จัดเก็บวัตถุดิบก่อนที่จะส่งไปผลิตที่โรงงาน โดยคลังสินค้าประเภทนี้จะบริการจัดการโดยผู้ประกอบการเอง และไม่ได้แสวงหาผลประโยชน์จากการรับฝากสินค้าของบริษัทอื่น

ข้อดีของ Warehouse แบบส่วนตัวคือผู้ประกอบการเป็นผู้บริหารคลังสินค้าเองจึงทำให้บริหารจัดการได้ง่าย คล่องตัว มีความยืดหยุ่นสูง แต่ข้อจำกัดคือต้องใช้เงินลงทุนสูงถึงแม้ว่าในระยะยาวจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า และต้องมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากร รวมถึงการบริหารจัดการคลังสินค้าด้วย

2. คลังสินค้าแบบสาธารณะ (Public Warehouse) 

คลังสินค้าสาธารณะคือคลังสินค้าที่บริหารจัดการโดยผู้ประกอบการที่เปิดขึ้นเพื่อเก็บค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้า โดยคลังสินค้าบางแห่งมีลักษณะการจัดเก็บเฉพาะ เช่น เป็นคลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิซึ่งรับเก็บของสดที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยที่โรงงานผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายไม่จำเป็นต้องลงทุนสร้างคลังสินค้าเป็นของตนเอง เป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในระยะยาว หรือใช้จัดเก็บสินค้าในช่วงเทศกาลหรือช่วงที่มียอดขายมากกว่าปกติ

ข้อดีของคลังสินค้าประเภทนี้คือผู้ประกอบการไม่ต้องลงทุนเพื่อก่อสร้างคลังสินค้า และมีความยืดหยุ่นสูงในช่วงที่ไม่ต้องการจัดเก็บสินค้าจำนวนมาก ก็จะสามารถลดภาระต้นทุนในเรื่องการบริหารจัดการคลังสินค้า รวมถึงลดความเสี่ยงจากการว่างของคลังสินค้าด้วย อย่างไรก็ตามคลังสินค้าประเภทนี้มีข้อจำกัดเนื่องจากเป็นการบริหารจัดการโดยบริษัทภายนอกจึงทำให้ไม่สามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่ หรือไม่สามารถดูแลสินค้าที่ต้องการการจัดเก็บเป็นพิเศษได้

3. คลังสินค้าทัณฑ์บน (Bonded Warehouse)

ใช้ในการเก็บสินค้านำเข้าโดยไม่ต้องชำระภาษีทั้งอากรขาเข้าและขาออก โดยได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร Warehouse ประเภทนี้จะรองรับการจัดเก็บนาน 2 ปี หากต้องการเก็บนานกว่านั้นจะต้องยื่นคำต้องต่อศุลกากร เมื่อมีการนำสินค้าออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บนจะต้องชำระภาษีอากรก่อน ดังนั้นคลังสินค้าประเภทนี้จึงมักตั้งอยู่ใกล้กับท่าเรือ หรือสนามบินเพื่อรอการจัดเก็บภาษีอากรให้เรียบร้อยเสียก่อน การจัดตั้ง Warehouse จะต้องได้รับอนุญาตและดำเนินการภายใต้เงื่อนไขของกรมศุลกากร ปัจจุบันมีผู้ประกอบการหลายรายที่ให้บริการคลังสินค้าประเภทนี้

ข้อดีของคลังสินค้าทัณฑ์บนคือสินค้าจะได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า และสามารถเก็บในคลังได้นาน 2 ปี หากเป็นการนำเข้าสินค้าเพื่อส่งออกไปยังประเทศอื่น ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องนำสินค้าออกมาเพื่อเก็บรักษาไว้เอง แต่สามารถพักไว้ที่คลังสินค้าเพื่อรอส่งออกได้เลย และไม่ต้องเสียภาษีซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการส่งออก

4. ศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center)

ศูนย์กระจายสินค้าที่ทำหน้าเป็นทั้งคลังสินค้าและให้บริการด้านโลจิสติกส์ คือทั้งจัดเก็บสินค้าและจัดการขนส่งสินค้าให้กับลูกค้าตามความต้องการ ผู้ให้บริการศูนย์กระจายสินค้ามักเป็นบริษัทที่ให้บริการจัดเก็บและจัดส่ง โดยทำหน้าที่รับสินค้าจากผู้ผลิตมาเก็บรักษาในคลังสินค้าของตน และดำเนินการจัดส่งสินค้าให้กับปลายทางแทนผู้ผลิตสินค้า

ข้อดีของการใช้บริการศูนย์กระจายสินค้าคือลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าไปยังผู้ขายแต่ละราย โดยสามารถส่งสินค้าทั้งหมดไปที่ศูนย์กระจายสินค้าเพียงแห่งเดียว และให้ศูนย์กรจายสินค้าดำเนินการกระจายสินค้าสู่ผ้าค้าปลีกหรือลูกค้าตามระยะเวลาที่ต้องการ เจ้าของกิจการหรือผู้ผลิตจึงไม่จำเป็นต้องมีที่เก็บสินค้าขนาดใหญ่เพื่อรองรับปริมาณสินค้าคงคลังจำนวนมากซึ่งเป็นการลดค่าใช้จ่ายและภาระงานด้านการจัดส่งสินค้าอีกด้วย

5. คลังสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิ (Climate-controlled Warehouse)

Warehouse ประเภทนี้ใช้สำหรับสินค้าที่ต้องการรักษาอุณหภูมิ หรือความชื้น เช่น อาหารแช่แข็ง อาหารสด ดอกไม้ เครื่องสำอาง ยา  เป็นต้น โดยคลังสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิช่วยให้เก็บรักษาสินค้าในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมได้ในระยะเวลานาน 

ข้อดีของการใช้บริการคลังสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิคือช่วยในเรื่องการรักษาอายุและคุณภาพของสินค้าที่ต้องกังวลเรื่องการเน่าเสีย และผู้ประกอบการสามารถนำเข้าสินค้าได้ในปริมาณที่เพียงพอต่อการจำหน่าย  โดยเฉพาะสินค้าประเภทอาหาร ทำให้สามารถ stock วัตถุดิบที่เป็นของสดในช่วงเวลาที่มีราคาต่ำกว่าปกติได้ จึงเป็นการลดต้นทุนในการผลิตสินค้า อย่างไรก็ตามคลังสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิก็มีทั้งแบบส่วนตัว และแบบสาธารณะซึ่งผู้ประกอบการสามารถเลือกลงทุนได้ตามความเหมาะสม

6. คลังสินค้าแบบบริหารจัดการ (Fulfillment Center)

fulfillment service

คลังสินค้าประเภทนี้เป็นที่นิยมสำหรับผู้ประกอบธุรกิจแบบ E-commerce เพราะให้บริการ Fulfillment แบบครบวงจร ที่นอกจากจัดเก็บสินค้าแล้ว ยังมีการให้บริการแพ็คสินค้า และจัดส่ง รวมถึงทำรายการสินค้าคงคลังให้อีกด้วย ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าออนไลน์จึงนิยมใช้บริการคลังสินค้าประเภทนี้ เพื่อเป็นการลดภาระงานที่ยุ่งยาก

ข้อดีของการใช้บริการคลังสินค้าประเภทนี้คือผู้ประกอบการไม่ต้องดูแลบริหารสินค้าคงคลังด้วยตัวเอง แต่ผู้ให้บริการคลังสินค้าจะเป็นผู้ดูแลบริหารรวมถึงจัดส่งให้กับลูกค้าปลายทาง และไม่ต้องลงทุนหรือมีพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า จึงเป็นการประหยัดต้นทุนด้านการบริหารและบุคลากร และมีเวลาไปโฟกัสกับงานด้านอื่นที่จำเป็นต่อธุรกิจแทน คลังสินค้าแบบบริหารจัดการจะเป็นการให้บริการโดยบริษัทภายนอก และให้ผู้ประกอบการสามารถเช่าพื้นที่ รวมถึงใช้บริการจัดส่งหรือบริการเสริมอื่น ๆ ด้วย

สำหรับเจ้าของธุรกิจอีคอมเมิร์ซคนไหน ที่ยังไม่แน่ใจว่ากิจการของตน ควรใช้บริการ Fulfillment หรือไม่ ลองเข้ามาเช็ค 12 สัญญาณที่ร้านค้าออนไลน์ควรใช้ Fulfillment Service เพื่อหาคำตอบกันได้เลย!  


หน้าที่ของ Warehouse หรือคลังสินค้า

หน้าที่ของ Warehouse หรือคลังสินค้าคือ รับสินค้ามาเพื่อจัดเก็บและรักษาสินค้าให้อยู่ในสภาพดี พร้อมจัดส่งถึงมือลูกค้าปลายทาง คลังสินค้าต้องเป็นพื้นที่โล่งที่มีขนาดใหญ่เพื่อให้สะดวกต่อการจัดเก็บ และจำแนกสินค้าตามหมวดหมู่ นอกจากนั้นพื้นที่ต้องเอื้ออำนวยต่อการขนถ่ายสินค้า เช่น มีทางลาดสำหรับรถเข็น หากเป็นสินค้าขนาดใหญ่หรือจำนวนมาก ต้องมีพื้นที่สำหรับรถโฟล์คลิฟท์ที่ช่วยในการเคลื่อนย้าย หรือมีพื้นที่สำหรับรถขนส่งสินค้าจอดเทียบเพื่อขึ้นสินค้าได้อย่างสะดวกรวดเร็ว คลังสินค้าบางแห่งยังต้องเป็นพื้นที่ในการรีแพ็ค ติดฉลาก บรรจุหรือคัดแยกสินค้าอีกด้วย 

processing storehouse stocks boxes with order receipts details

การจัดการคลังสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพต้องทำอย่างไร

แยกประเภทสินค้าตามหมวดหมู่ด้วยรหัสสินค้า

ต้องแยกสินค้าตามหมวดหมู่ให้ถูกต้องและเหมาะสม ด้วยฉลาก หรืออาจใช้เทคโนโลยีในการช่วยบริหารจัดการ เช่น ติด Barcode สินค้า หรือใช้ระบบ RFID เพื่อจัดหมวดหมู่สินค้า และทำให้หาสินค้าในคลังได้อย่างเป็นระบบ

แยกประเภทสินค้าตามความถี่ในการใช้

สินค้าหรือวัตถุดิบต้องถูกจัดเก็บตามความถี่ในการใช้ เพื่อให้สะดวกต่อการนำออกมาใช้หรือขาย เช่น แยกสินค้าที่ขายหรือใช้เร็วไว้ในบริเวณที่ขนย้ายหรือเข้าถึงง่าย เพื่อให้สะดวกต่อการนำสินค้าออก ส่วนสินค้าที่ใช้ไม่บ่อยอาจจัดเก็บไว้ด้านใน 

จัดการสินค้าตาม SKU 

ถ้าเป็นสินค้าเพื่อจำหน่าย ควรกำหนด SKU ของแต่ละสินค้าให้ชัดเจน เพื่อทำให้การจัดส่งสินค้าไปยังลูกค้าถูกต้องและรวดเร็ว และทำให้บริหารจัดการสินค้าคงคลังได้ง่ายอีกด้วย

ตรวจสอบจำนวนสินค้าในคลังสินค้าอย่างสม่ำเสมอ

ควรตรวจสอบยอดสินค้าแต่ละชนิดเป็นประจำ เพื่อให้ทราบจำนวนสินค้าหรือวัตถุดิบที่แท้จริงตลอดเวลา หากสินค้าใกล้หมดหรือเหลือน้อยผู้ประกอบการจะได้สั่งสินค้ามา stock ได้อย่างเหมาะสม ทำให้สินค้าไม่ขาดมือหรือวัตถุดิบเพียงพอต่อการผลิตสินค้า

ตรวจสอบระยะเวลาจัดส่งสินค้าจากผู้ผลิตหรือผู้ค้า

เมื่อมีกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนในการสั่งสินค้าแต่ละชนิด ทำให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารสินค้าในคลังสินค้าได้อย่างเป็นระบบ หากสินค้าชนิดใดมีการหมุนเวียนอย่างรวดเร็วอาจะสั่งเข้ามาเป็นจำนวนมาก และใช้พื้นที่ในการจัดเก็บเพิ่มขึ้น แต่นำสินค้าออกไปอย่างรวดเร็ว โดยไม่กระทบพื้นที่จัดเก็บสินค้าชนิดอื่น หรือกำหนดระยะการสั่งสินค้าได้อย่างชัดเจนเมื่อสินค้าใกล้หมด เพื่อไม่ให้สินค้าขาดสต็อกอีกด้วย

จัดคลังสินค้าให้เป็นระเบียบอยู่เสมอ

นอกจากอัพเดทจำนวนสินค้าในคลังให้เป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอแล้ว ต้องทำป้ายกำกับสินค้า เลขที่ ตำแหน่งชั้นวางให้ชัดเจน จัดทำรายการหรือแผนผังในคลังสินค้าให้เป็นระบบระเบียบ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนเวลานำสินค้าออก

ตรวจสอบคลังสินค้าเป็นประจำ

เนื่องจากสินค้าในคลังต้องอยู่ในสภาพดีตลอดเวลา จึงต้องตรวจสอบคลังสินค้าว่าไม่มีสิ่งแปลกปลอม หากเป็นคลังสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิต้องการตรวจสอบระบบการควบคุมอุณหภูมิ และสุ่มตรวจสินค้าเพื่อความมั่นใจ และควรมีกำหนดเวลาในการตรวจสอบที่ชัดเจน เช่น ทุกวัน ทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน เป็นต้น


young man working warehouse with boxes

การเลือกคลังสินค้าที่เหมาะกับธุรกิจ E-commerce

สำหรับผู้ประกอบการ E-commerce การเลือกใช้คลังที่เหมาะสมควรพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้

ทำเลที่ตั้ง

  • ใกล้จุดกระจายสินค้าของบริษัทขนส่ง
  • เดินทางสะดวก รถขนส่งเข้าถึงได้ง่าย
  • อยู่ในพื้นที่ที่มีความปลอดภัย
  • ขนาดและพื้นที่ใช้สอย

คำนวณพื้นที่ให้เพียงพอกับปริมาณสินค้า

  • มีพื้นที่สำหรับการแพ็คสินค้า
  • รองรับการขยายตัวในอนาคต

ระบบและสิ่งอำนวยความสะดวก

  • ระบบรักษาความปลอดภัย 24 ชั่วโมง
  • ระบบป้องกันอัคคีภัย
  • อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
  • ระบบไฟฟ้าสำรอง

บริการเสริม

  • บริการจัดการสต็อก
  • บริการแพ็คสินค้า
  • บริการจัดส่ง
  • รายงานสถานะสินค้าแบบเรียลไทม์

ข้อควรพิจารณาในการเลือกใช้บริการคลังสินค้า

งบประมาณและค่าใช้จ่าย

  • ค่าเช่าพื้นที่
  • ค่าบริการเสริม
  • ค่าสาธารณูปโภค
  • ค่าประกันภัย

ความยืดหยุ่นของสัญญา

  • ระยะเวลาขั้นต่ำในการเช่า
  • เงื่อนไขการปรับเพิ่ม/ลดพื้นที่
  • ข้อตกลงการยกเลิกสัญญา

มาตรฐานและการรับรอง

  • มาตรฐานความปลอดภัย
  • การรับรองคุณภาพการให้บริการ
  • มีประกันภัยสินค้า

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Warehouse 

Warehouse กับ Logistics ต่างกันอย่างไร

คำว่า Warehouse กับ Logistic เป็นสิ่งที่ทำหน้าที่ควบคู่กัน แต่ Warehouse หรือคลังสินค้ามุ่งเน้นที่การจัดเก็บและรักษาสินค้าในอาคารให้อยู่ในสภาพดี ส่วน Logistics คือการจัดการขั้นตอนการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงเมื่อผลิตเสร็จออกมาเป็นสินค้าพร้อมจำหน่าย และส่งไปยังลูกค้าปลายทาง 

Warehouse กับ Fulfillment ต่างกันอย่างไร

Warehouse ทำหน้าที่ในการจัดเก็บสินค้าให้เป็นระเบียบและอยู่ในสภาพสมบูรณ์เท่านั้น ส่วน Fulfillment จะทำหน้าที่ในการบริหารจัดการด้านการขนส่งสินค้าไปยังลูกค้าปลายทางให้กับผู้ใช้บริการด้วย ทั้งบริการแพ็คสินค้า จัดส่ง ตรวจสอบและบริหารสินค้าคงคลัง หรือบริการเสริมอื่น ๆ เพิ่มเติมในผู้ให้บริการ Fulfillment บางราย เช่น การถ่ายรูปสินค้า การตรวจสอบคุณภาพสินค้า หรือการแพ็คแบบเฉพาะตามที่ผู้ใช้บริการต้องการ 

Warehouse กับ Distribution Center ต่างกันอย่างไร

ทั้ง Warehouse คลังสินค้า และ Distribution Center ศูนย์กรจายสินค้า เป็นสถานที่ในการจัดเก็บสินค้าเช่นเดียวกัน แต่ Warehouse มักทำหน้าที่จัดเก็บสินค้าหลากหลายชนิด ส่วน Distribution Center เป็นคลังสินค้าที่ตั้งขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดเก็บสินค้าก่อนกระจายไปยังผู้ค้าปลีก ส่วนใหญ่จะจัดเก็บสินค้าจากผู้ผลิตหลายราย และทำหน้าที่หมุนเวียนสินค้า เป็นตัวแทนของผู้ผลิตในการนำส่งสินค้าแต่ละประเภทไปยังร้านค้าปลีก ซึ่ง Distribution Center มักไม่ได้เป็นของผู้ผลิตรายใดรายหนึ่ง แต่เป็นศูนย์รวมของสินค้าในกลุ่มหรือประเภทเดียวกันจากหลายผู้ผลิต เพื่อกระจายไปยังร้านค้าที่ต้องการจำหน่ายสินค้าประเภทนั้น ๆ เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับทั้งผู้ผลิตและผู้ค้าปลีก

Warehouse Officer ทำหน้าที่ใดในกิจกรรมคลังสินค้า

warehouse worker checking stock

Warehouse Officer หรือพนักงานคลังสินค้า ต้องมีทั้งความรอบคอบและร่างกายแข็งแรง โดยหน้าที่ของพนักงานคลังสินค้าคือ 

  • รับสินค้าเข้า ตรวจสอบจำนวนและคุณภาพของสินค้า
  • ส่งสินค้าออกอย่างถูกต้องตามความต้องการของลูกค้าปลายทาง
  • จัดระเบียบในคลังสินค้า
  • ขนย้ายสินค้าภายในคลังสินค้า
  • บันทึกยอดสินค้าในคลังสินค้าให้เป็นปัจจุบัน
  • ดูแลความปลอดภัยของคลังสินค้าให้เป็นเป็นตามมาตรฐาน
  • ตรวจสอบสินค้าในคลังให้อยู่ในสภาพดีตามที่ผู้ประกอบการกำหนด

เมื่อรู้จักกับ Warehouse หรือคลังสินค้า รวมถึงบริการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือใกล้เคียงกับ Warehouse แล้ว ผู้ประกอบการก็จะสามารถเลือกใช้บริการหรือ Warehouse ได้ตามความเหมาะสม และตรงกับวัตถุประสงค์ของธุรกิจและประเภทของสินค้า เพื่อทำให้ธุรกิจดำเนินงานได้อย่างราบรื่น ประหยัดต้นทุนและมีโอกาสเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับร้านค้าออนไลน์ร้านไหน ที่มีออเดอร์เข้ามามากมายจนจัดการทั้งสินค้าและออเดอร์ไม่ทัน ก็อย่าลืมนึกถึง Carry Fulfillment กันนะครับ เราช่วยร้านคุณจัดการได้ทุกขั้นตอนด้วยบริการ Fulfillment ที่ครบครัน ทั้งจัดเก็บ แพ็ค และส่งสินค้าให้คุณอย่างมีประสิทธิภาพ เรามีระบบจัดการสต๊อกสินค้าออนไลน์ อัปเดตแบบเรียลไทม์ ดึงข้อมูล ตัดออเดอร์ จากสต็อกสินค้าได้ทันที ที่สำคัญเรามีระบบหลังบ้านที่สามารถเชื่อมต่อ API เข้ากับแพลตฟอร์มต่าง ๆ ทําให้ร้านค้า ประหยัดเวลาในการจัดการออเดอร์ได้เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นหลักพันหรือหมื่นออเดอร์ เราพร้อมให้บริการครบวงจรที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปอย่างราบรื่น สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการของเราได้ที่นี่เลยครับ