
Shopee เป็นแพลตฟอร์ม marketplace ที่โด่งดังในประเทศไทย ซึ่งมีทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมาก สินค้าที่หลากหลาย ครบทุกหมวดหมู่ สั่งซื้อและตรวจสอบได้ง่าย จึงทำให้มีผู้ซื้อของผ่าน shopee มากขึ้นเรื่อย ๆ พ่อค้าแม่ค้าที่สนใจขายของออนไลน์จึงเลือก shopee เป็นแพลตฟอร์มอันดับต้น ๆ ที่จะเปิดร้านค้า
ขายของใน Shopee ดียังไง
ก่อนที่จะเปิดร้านขายของใน shopee ต้องมารู้ข้อดีและข้อจำกัดของแพลตฟอร์มกันก่อน
ข้อดีของการขายของใน Shopee
- เปิดร้านง่าย
ใช้มือถือเพียงเครื่องเดียวก็สามารถเปิดร้านและขายของบน shopee ได้ เริ่มตั้งแต่เปิดร้าน ถ่ายภาพสินค้า โต้ตอบกับลูกค้า จัดการคำสั่งซื้อจนสินค้าถึงมือลูกค้าได้เลย
- ติดต่อกับผู้ซื้อได้อย่างสะดวก
ร้านค้ากับผู้ซื้อสามารถติดต่อกันผ่านระบบแชทของร้านค้าได้ เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสินค้าผู้ซื้อสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมอย่างสะดวกรวดเร็ว และรู้สึกสบายใจที่จะซื้อสินค้าเมื่อได้คุยกับผู้ขาย
- ไม่ต้องยุ่งยากในการหาลูกค้า
เพราะ shopee มีจัดโปรโมชั่นอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ผู้ซื้อเข้ามาดูสินค้าอยู่ตลอด แต่ร้านค้าก็ต้องตื่นตัวในการทำให้ร้านน่าสนใจ อัปเดทสินค้าในสต็อกอยู่เสมอ และต้องเข้าร่วมแคปเปญต่าง ๆ กับทาง shopee เพื่อให้ผู้ซื้อเห็นร้านมากขึ้น
- จัดการระบบร้านค้าได้ง่าย
ระบบหลังบ้านของ shopee ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ขาย สามารถจัดการคำสั่งซื้อได้อย่างง่ายดาย ตั้งแต่รับออร์เดอร์ ตัดสต็อก จนถึงพิมพ์ใบปะหน้าเพื่อจัดส่ง เป็นการประหยัดเวลาและอำนวยความสะดวกได้อย่างมาก

ข้อจำกัดในการขายของใน Shopee
เมื่อรู้ข้อดีของการเปิดร้านขายของใน shopee แล้วก็มาดูข้อจำกัดกันบ้าง
- คู่แข่งเยอะ
ใคร ๆ ก็สนใจเปิดร้านใน shopee ทำให้ร้านค้ามีคู่แข่งจำนวนมาก ดังนั้นร้านค้าจึงต้องหาสินค้าที่แตกต่าง หรือจัดโปรโมชั่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าเลือกซื้อของจากร้านของเราแทนที่จะซื้อจากคู่แข่ง
- ลูกค้าต้องการโปรโมชั่น
เนื่องจาก shopee จัดแคมเปญส่วนลดอยู่ตลอด ดังนั้นร้านค้าที่เข้าร่วมโปรโมชั่นต่าง ๆ ก็ได้รับความสนใจเป็นพิเศษ ทำให้เราต้องมีส่วนลดหรือโปรโมชั่นอื่น ๆ ให้กับลูกค้าอยู่ตลอด จึงไม่สามารถขายของในราคาที่สูงมากได้ ยกเว้นว่าสินค้าของเราเป็นสินค้าที่แตกต่างจากท้องตลาด
- ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้ shopee
ร้านค้าต้องการค่าธรรมเนียมการขาย หรือ คอมมิชชั่น และค่าธรรมเนียมการจ่ายเงินให้กับ shopee ซึ่งต้องอย่าลืมคำนวณต้นทุนเผื่อไว้เมื่อตั้งราคาขาย และถ้าเข้าร่วมโปรโมชั่นหรือแคมเปญ เช่น flash sale กับทาง shopee มีค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายเพิ่มอีก ดังนั้นเมื่อตั้งราคาต้องเอาต้นทุนส่วนนี้ไปคำนวณด้วย

ขายของใน shopee เสียค่าอะไรบ้าง
ค่าธรรมเนียมของ shopee ที่จะเริ่มใช้ในวันที่ 1 กันยายน 2566 นี้
ค่าธรรมเนียมการขาย
- 3% (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) สำหรับสินค้าหมวดหมู่อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics) สินค้าในหมวดหมู่ไลฟ์สไตล์ (Lifestyle) สินค้าในหมวดหมู่อุปโภคบริโภค (FMCG) และสินค้าในหมวดหมู่อื่นๆ (Others)
- 4% (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) สำหรับสินค้าแฟชั่น
ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านบัตรเครดิต
- 4% (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) สำหรับการผ่อนชำระ 3 เดือน
- 5.5% (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) สำหรับการผ่อนชำระ 6 เดือน
- 6% (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) สำหรับการผ่อนชำระ 10 เดือน
ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่าน SpayLater
- 3% (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) (สำหรับระยะผ่อนชำระ 1-2 เดือน),
- 4% (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) (สำหรับระยะเวลาการผ่อนชำระ 3 เดือน),
- 5.5% (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) (สำหรับระยะเวลาการผ่อนชำระ 5 เดือน),
- 6% (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) (สำหรับระยะเวลาผ่อนชำระ 12 เดือน)
ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม
-
3% ทุกประเภทสินค้า
วิธีสมัครขายของใน Shopee
วิธีสมัครเปิดร้านขายของใน shopee แบบง่ายๆ อ่านจบแล้วสามารถทำตามได้เลย
วิธีสมัครเปิดร้านผ่านคอมพิวเตอร์
- เข้าสู่เว็บไซต์ www.shopee.com แล้วสมัครสมาชิก shopee โดยกรอกเบอร์โทรศัพท์
- ระบบจะส่ง OTP เพื่อตรวจสอบและยืนยันตัวตน
- กำหนดรหัสผ่าน
- ทำตามขั้นตอนจนเสร็จ
- จากนั้นล็อกอินเข้าสู่หน้า Seller Centre
- เริ่มเปิดร้านลงสินค้าที่จะขายได้เลย
- สามารถล็อกอินเข้าสู่ระบบ เพื่อตรวจสอบและจัดการร้านค้าได้
วิธีสมัครเปิดร้านขายของผ่านแอปพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน
- เปิดแอป shopee บนโทรศัพท์ แล้วเลือกที่ ฉัน
- กดปุ่ม ลงทะเบียน
- กรอกหมายเลขโทรศัพท์
- ใส่รหัสยืนยันตัวตน
- ทำตามขั้นตอนจนเสร็จ
- เลือกที่ ฉัน อีกครั้ง
- เลือก เริ่มการขาย
- เพิ่มสินค้าที่จะขาย
- สามารถเลือก ร้านของฉัน เพื่อตรวจสอบและจัดการร้านค้าได้ตามต้องการ
วิธีสมัครขายของใน Shopee
ขายของใน shopee ได้เงินยังไง
ระบบจะโอนเงินค่าสินค้าไปที่บัญชีของผู้ขาย Seller balance หลังจากที่ผู้ซื้อได้รับสินค้าและกดปุ่มตรวจสอบและยอมรับสินค้า หรือพ้นช่วงระยะเวลาการันตีจาก shopee หลังจากนั้นผู้ขายจึงถอนเงินออกจากบัญชีได้ โดยสามารถถอนเงินด้วยตัวเองที่ขั้นต่ำ 100 บาทโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม 1 ครั้งต่อสัปดาห์ หลังจากนั้นคิดค่าธรรมเนียมรายการละ 10 บาท หรือสามารถเปิดให้ระบบ ถอนเงินอัตโนมัติทุกวันอังคาร พุธ หรือพฤหัสบดี หากใช้การถอนเงินอัตโนมัติแล้วร้านค้าก็ยังสามารถถอนเงินด้วยตัวเองได้อีก 1 ครั้งต่อสัปดาห์โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม
การจัดส่งสินค้าต้องทำอย่างไร
ร้านค้าสามารถเลือกช่องทางการจัดส่งสินค้าได้จากเมนูตั้งค่า โดยสามารถเลือกแบบไปส่งเองที่บริษัทขนส่งที่เลือกหรือให้ shopee เข้ารับพัสดุเพื่อทำการจัดส่งให้ก็ได้เช่นกัน ผู้ขายเพียงแค่พิมพ์เอกสารใบปะหน้าจากในระบบ แล้วแปะบนกล่องจากนั้นนำไปส่งให้ผู้ให้บริการขนส่งหรือพนักงานขนส่งจาก shopee
ขายของใน Shopee ไม่ต้องสต๊อกสินค้า
ถ้ายังไม่มีสินค้าที่จะมาลงขาย ก็สามารถขายของกับ shopee ผ่าน affiliate program หรือเป็นพาร์ทเนอร์ของ shopee ได้ โดยโปรโมทดีลสินค้า ร้านค้าหรือแคมเปญ ตามช่องทางต่างๆ เช่น โซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ เป็นต้น เมื่อมีการซื้อสินค้าผ่านทางการโปรโมท พาร์ทเนอร์ก็จะได้ค่าตอบแทนเป็นอัตราส่วนคอมมิชชั่นของสินค้าที่ขายได้
เพียงไม่กี่ขั้นตอนก็สามารถขายของใน shopee ได้แล้ว และใน shopee ก็ยังมีบทความและคลิปวิดีโอที่สอนเทคนิคการเพิ่มยอดขาย วิธีโปรโมท และข้อมูลอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อพ่อค้าแม่ค้าในศูนย์การเรียนรู้ผู้ขาย ร้านค้าจึงสามารถโปรโมทและมีโอกาสเพิ่มยอดขายได้ ดังนั้นหากอยากเปิดร้านขายของออนไลน์ก็เริ่มต้นกันเลย